เลือกหน้า

สถาบันฝึกอบรมด้านการบิน ไทย เอวิเอชั่น จังหวัดร้อยเอ็ด

ก่อตั้งบนพื้นที่กว่า 10 ไร่ ณ ตำบลหนองพอก อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งตัวสถาบันฯ อยู่ห่างจากท่าอากาศยานร้อยเอ็ดเพียง 4 กิโลเมตร เพื่อความสะดวกสบายแก่ศิษย์การบินในการเรียน อีกทั้งสถาบันฯ ยังให้ความสำคัญกับสภาพความเป็นอยู่ของศิษย์การบินและสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อให้ศิษย์การบินได้มีคุณภาพชีวิตและสภาพแวดล้อมที่ดี

ทำไมเราจึงเลือกเป็นโรงเรียนประจำ

การใช้ชีวิตในรั้วสถาบันฯ ของเราจะช่วยศิษย์การบินเตรียมความพร้อมสำหรับอาชีพนักบินในอนาคต ซึ่งศิษย์การบินแต่ละคนจะได้ฝึกการเรียนรู้ด้วยตนเองและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุดไปพร้อมๆกัน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับอาชีพนักบิน

ในเนื้อหาคู่มือเล่ม 9401 ของ ICAO ที่ให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ “ศิษย์การบินนั้นกำลังถูกฝึกให้เตรียมพร้อมกับชีวิตของนักบินวิชาชีพ หลายคนอาจไม่มีประสบการณ์อยู่ห่างบ้านและครอบครัว พวกเขาควรเตรียมพร้อมสำหรับวิถีชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลารวมทั้งปัญหาต่างๆที่นักบินจะต้องเผชิญ ซึ่งพวกเขาควรได้รับคำแนะนำและการดูแลอย่างรอบคอบ และมีอิสรภาพความเป็นตัวของตัวเอง

เราเข้าใจว่าการปรับตัวให้เข้ากับโรงเรียนใหม่และสภาพแวดล้อมใหม่ๆเป็นเรื่องยาก แต่เราคือครอบครัวที่ใส่ใจความเป็นอยู่ของศิษย์การบิน รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่จะช่วยในการใช้ชีวิตของศิษย์การบิน จะได้เรียนรู้การพึ่งพาตนเองและยังรู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น เรามุ่งมั่นที่จะสร้างโอกาสให้ศิษย์การบินเติบโตและประสบความสำเร็จตลอดระยะเวลาที่อยู่กับเรา

ทำไมถึงเลือกร้อยเอ็ด?

  1.   ท่าอากาศยานร้อยเอ็ดพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกในการนำทาง เช่น ILS (Instrument Landing System), VOR (VHF Omnidirectional Range), NDB (Non-Directional Beacon) และ RNAV (Area Navigation) ศิษย์การบินจะได้เรียนรู้ระบบจริง
  2.   จังหวัดร้อยเอ็ดเป็นสะดือของภาคอีสานสามารถบินไปได้หลายจังหวัด
  3.   จังหวัดร้อยเอ็ดมีสภาพภูมิอากาศเหมาะสม อากาศตรงตามฤดูกาล สามารถจัดการฝึกบินได้ตลอดทั้งปี
  4.   จังหวัดร้อยเอ็ดมีภูมิประเทศเป็นที่ราบ ไม่มีภูเขา จึงปลอดภัยต่อการฝึกบิน เพราะไม่มีสิ่งกีดขวาง
  5.   ท่าอากาศยานร้อยเอ็ดมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีความสามารถรองรับการฝึกบินทุกรูปแบบตลอดหลักสูตรที่สถาบันฯ มี
  6.   สถานที่มีความสามารถเข้าถึงเส้นทางการบินต่างๆได้ง่าย ทั้งพื้นที่การฝึกบิน ซึ่งช่วยในการฝึกซ้อมท่าทางการบินและฝึกบินขั้นพื้นฐานด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน

จังหวัดร้อยเอ็ดจึงมีความเหมาะสมสำหรับ ไทย เอวิเอชั่น อะคาเดมี่ ในการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัย ซึ่งช่วยเพิ่มประสบการณ์การเรียน และความเป็นอยู่ที่ดีที่สุดในการใช้ชีวิตของศิษย์การบิน

เครื่องบิน 

TECNAM P2006T

TECNAM P2006T เป็นเครื่องบินที่มีความทันสมัย ถูกนำมาใช้แทนที่เครื่องบินฝึกแบบมากกว่าหนึ่งเครื่องยนต์ ในหลายๆโรงเรียนการบินทั่วโลก P2006T ไม่ได้เป็นแค่เครื่องบินที่นิยมใช้สำหรับการฝึกในยุโรปเท่านั้น แต่ยังเป็นที่ต้องการในประเทศไทยเราอีกด้วย เพราะมีสมรรถนะที่เกินความคาดหมายในด้านความปลอดภัยเหมาะที่จะใช้ฝึกศิษย์การบิน ด้วยนวัตกรรมการออกแบบโครงสร้างจากวิศวกรชาวอิตาลี และการทำงานของเครื่องบิน complex และได้รับการรองรับจาก EASA และ CAAT จึงเหมาะสมกับสถาบันฯ ของเรา

ความยาวของเครื่องบิน: 8,7 m
ความกว้างของปีก: 11,4 m
ความสูง: 2,85 m
พื้นที่: 14,8 m2
น้ำหนัก: 800 kg
น้ำหนักสูงสุด: 1230 kg
ประเภทเครื่องยนต์: ROTAX 912S3
กำลังเครื่อง-แรงม้า: 2 x 98
ความเร็วเดินทาง: 250 (135) km/h (knots)
ระยะทางบิน: 1250 km
ที่นั่งสำหรับนักบิน: 1 or 2 pilot
ที่นั่งสำหรับผู้โดยสาร: 3 or 2
ประตู: 2

TECNAM P2002JF

เมื่อคำนึงถึงเครื่องบินที่เหมาะสมที่สุดในการเริ่มฝึกบินของศิษย์การบิน ไทย เอวิเอชั่น อะคาเดมี่ ได้เลือก TECNAM 2002JF เป็นประตูนำพาศิษย์การบินของเราไปสู้ฟากฟ้า และเป็นการเริ่มต้นเส้นทางอาชัพนักบิน เครื่องบิน TECNAM 2002JF ได้รับการรับรองจาก EASA และเป็นเครื่องบินที่มีการติดตั้งเครื่องวัดประกอบการบินซึ่งมีส่วนช่วยในการฝึกบินขั้นพื้นฐาน complex และได้รับการรองรับจาก CAAT ประเทศไทย ด้วยการออกแบบตัวเครื่องที่มีกระจกกันลมรอบข้างทำให้มีวิสัยทัศการมองเห็นที่ดีแก่ศิษย์การบิน

ความยาวของเครื่องบิน 6,61 m
ความกว้างของปีก 8,6 m
ความสูง 2,43 m
พื้นที่ 11,5 m2
น้ำหนัก 360 kg
น้ำหนักสูงสุด 600 kg
ประเภทเครื่องยนต์ ROTAX 912S2
กำลังเครื่อง-แรงม้า 1 x 100
ความเร็วเดินทาง 210 (113) km/h (knots)
ระยะทางบิน 1050 km
ที่นั่งสำหรับนักบิน 1 or 2 pilot
ที่นั่งสำหรับผู้โดยสาร 0 or 1
ประตู สไรด์คานุปี้บนเลื่อน

CESSNA 172S

ถ้าพูดถึงเครื่องบินที่มีความเป็นมายาวนานและเป็นที่นิยมที่สุดในการใช้ฝึกศิษย์การบิน CESSNA 172S หรือที่รู้จักกันในนาม “Sky Hawk” เริ่มผลิตในปี 1956 ปัจจุบันผลิตมาแล้วมากกว่า 44,000 ลำ มีส่วนร่วมในการผลิตนักบินมากมายทั่วโลก เทียบได้ว่า เครื่อง “Sky Hawk” นั้น คือประตูสู่ท้องฟ้า ไทย เอวิเอชั่น อะคาเดมี่ จึงได้เลือก CESSNA 172S เพื่อใช้ฝึกศิษย์การบิน

ความยาวของเครื่องบิน 8.20 m
ความกว้างของปีก 10.92 m
ความสูง 2.68 m
พื้นที่ 16.20 m2
น้ำหนัก 630 kg
น้ำหนักสูงสุด 1180 kg
ประเภทเครื่องยนต์ Lycoming O320
กำลังเครื่อง-แรงม้า 1 x 150
ความเร็วเดินทาง 196 (106) km/h (knots)
ระยะทางบิน 880 km
ที่นั่งสำหรับนักบิน 1 or 2 pilot
ที่นั่งสำหรับผู้โดยสาร 2 or 3
ประตู 2 สำหรับผู้โดยสาร 1 ประตูสัมภาระ
Credit image from cessna.txtav.com

Robin R2160 Alpha Sport

ส่วนหนึ่งของหลักสูตรเพิ่มเติมที่ทางโรงเรียนเราฝึกให้กับศิษย์การบินคือ หลักสูตร Upset Prevention and Recovery Training (UPRT) ซึ่งบังคับและแนะนำโดยองค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ ICAO ให้นำมาปรับใช้เข้ากับการฝึกศิษย์การบินในหลักสูตรต่างๆ ทาง ไทย เอวิเอชั่น อะคาเดมี่ ได้เห็นความสำคัญของการเรียนการฝึก UPRT ให้กับอนาคตนักบินเพื่อที่จะสามารถรู้ทันและแก้ไข ท่าบิน upset กับ ท่าบินผิดปกติ เครื่อง Robin R2160 หรือรู้จักกันในนามว่า Aerobin เป็นเครื่องบินจำพวกของ Aerobatic ที่มีความเหมาะสมกับการฝึกท่าบิน และด้วยคุณลักษณะของเครื่องที่มีเสถียรภาพ การควบคุมที่ง่ายและความคล่องตัวสูง

ความยาวของเครื่องบิน 7.10m
ความกว้างของปีก 8.33m
ความสูง 2.13m
พื้นที่ 13.0 sq metres
น้ำหนัก 550kg
น้ำหนักสูงสุด 800kg
ประเภทเครื่องยนต์ Lycoming O-320-D
กำลังเครื่อง-แรงม้า 1 x120kw
ความเร็วเดินทาง 242km/hour
ระยะทางบิน 796 km (430 nm)
ที่นั่งสำหรับนักบิน 1 or 2 pilot
ที่นั่งสำหรับผู้โดยสาร 0 or 1
ประตู สไรด์คานุปี้บนเลื่อน

TECNAM P2010

การฝึกที่เต็มไปด้วยความสะดวกสบายและมีสไลต์จากวิศวกรชาวอิตาลี ไทย เอวิเอชั่น อะคาเดมี่ ได้ เลือกเครื่อง Tecnam P2010 ในการฝึกการบิน เพราะมีเครื่องวัดประกอบการบินผสมผสานด้วยระบบการบินและเทคโนโลยีที่ตั้งใจให้ศิษย์การบิน ฝึกและสร้างความคุ้นเคยกับหน้าปัดเครื่องบินจอ glass cockpit ด้วยขนาดเฉพาะที่ทาง Tecnam ได้ออกแบบมาทำให้เครื่อง P2010 นั้น สามารถติดตั้งตัว Garmin G1000 Nxi ที่รองรับการบินแบบกฎการบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน หรือ IFR ซึ่งเหมาะสมในการนำมาใช้ฝึกการบิน เครื่องวัดประกอบการบินและควบคุมระบบเครื่องยนต์ขับคลื่อนอัตโนมัติ เพื่อช่วยเตรียมความพร้อมในวิชาชีพนักบินในอนาคต

ความยาวของเครื่องบิน 7.97 m
ความกว้างของปีก 10.30 m
ความสูง 2.64 m
พื้นที่ 13.90 m2
น้ำหนัก 710 kg
น้ำหนักสูงสุด 1,160 kg
ประเภทเครื่องยนต์ Lycoming O320
กำลังเครื่อง-แรงม้า 1 х 150
ความเร็วเดินทาง 196 (106) km/h (knots)
ระยะทางบิน 880 km
ที่นั่งสำหรับนักบิน 1 or 2 pilot
ที่นั่งสำหรับผู้โดยสาร 2 or 3
ประตู 3 ประตูผู้โดยสาร 1 ประตูสัมภาระ